วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
อัมพวาชัยพัฒนานุรักษ
ที่ตั้งโครงการ เลขที่ 66 ชุมชนประชาอุทิศเทศบาล ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
พระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สรุปพระราชดำริ ให้ปรับปรุงพื้นที่ที่เป็นสวนแบบดั้งเดิมให้เป็นรูปแบบสวนตามหลักวิชาการ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ราษฎรที่มีอาชีพทำสวนไม้ผล ในเขตอำเภออัมพวาและบริเวณใกล้เคียง
วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อพัฒนาพื้นที่โครงการฯให้เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ผลพันธุ์ดีและนำเทคโนโลยีที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรมาปรับใช้ในโครงการ ฯ ให้เหมาะสมกับพื้นที่และเพื่อเป็นแหล่งศึกษาดูงาน สาธิต และอบรมด้านการเกษตร
หน่วยงานรับผิดชอบ มูลนิธิชัยพัฒนา ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี
ประเภทของโครงการ การเกษตร
สรุปลักษณะของโครงการ เป็นแหล่งศึกษางานสาธิตและอบรม ด้านการเกษตรในเขต อำเภออัมพวา
ปีงบประมาณที่เริ่มดำเนินการ 2547
งบประมาณที่ได้รับในปีเริ่มต้นและแหล่งที่มาของงบประมาณในปีที่เริ่มต้น ปี 2547 แหล่งที่มางบประมาณ กรมวิชาการเกษตร และมูลนิธิชัยพัฒนา
งบประมาณที่ได้รับในแต่ละปีแยกเป็นรายปีตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันและแหล่งที่มาของงบประมาณ ปี 2547 กรมวิชาการเกษตร 95,360 บาท
มูลนิธิชัยพัฒนา 504,054 บาท ปี 2548 กรมวิชาการเกษตร 212,119 บาท มูลนิธิชัยพัฒนา 153,985 บาท ปี 2549 กรมวิชาการเกษตร 100,000 บาท มูลนิธิชัยพัฒนา 504,288 บาท ปี 2550 กรมวิชาการเกษตร 69,540 บาท มูลนิธิชัยพัฒนา 700,792 บาท ปี 2551 กรมวิชาการเกษตร 180,000 บาท มูลนิธิชัยพัฒนา 919,092 บาทปี 2552 กรมวิชาการเกษตร 160,000 บาท
ผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันโดยสรุป
1.การฟื้นฟูไม้ผลและการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเป็นกิจกรรมที่เน้นการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทั้งไม้ผลเดิมและไม้ผลที่นำเข้ามาปลูกใหม่ 2. อนุรักษ์และจัดทำทะเบียนพันธุ์ไม้ผลที่มีศักยภาพ รวบรวมสายพันธุ์พืชพันธุ์ดี และพันธุ์ไม้พื้นเมือง จากการดำเนินงานที่ผ่านมาได้รวบรวมพันธุ์พืชที่มีอยู่ในแปลงโครงการฯ จำนวนกว่า 100 ชนิด สำหรับพันธุ์ที่นำมาปลูกใหม่ช่วงเริ่มดำเนินการ ได้แก่ ตะลิงปลิง ชำมะเรียง มะสัง มะตาด มะขามป้อม ชมพู่น้ำดอกไม้ มะพูดละมุดสีดา มะตูม มะพร้าวซอ มะกรูดหวาน ชมพู่สาแหรก โมก ไผ่ตง ไผ่หวาน และพืชตระกูลไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น3. การบริการด้านวิชาการเกษตร3.1 จัดทำฐานข้อมูลองค์ความรู้ การผลิตพืชในท้องถิ่น ได้รวบรวมองค์ความรู้การผลิตพืชต่าง ๆ ของชุมชน โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรและรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านวิชาการเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของชาวสวนและบุคคลทั่วไป3.2จัดเวทีเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้และฝึกอบรมเกษตรกร ซึ่งเป็นเกษตรกรชาวสวนอำเภออัมพวาและพื้นที่ใกล้เคียง ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสนใจและได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่สามารถนำไปปฏิบัติในแปลงของตนเองต่อไป4. อนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตด้านการเกษตร จัดทำแปลงพืชผักสวนครัวฉบับชาวบ้าน โดยการปลูกพืชผักแซมในพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณร่องสวน ซึ่งพืชผักที่นำมาปลูก ได้แก่ ข่า ตะไคร้ ผักหวานบ้าน ชะอม กระชาย ผักบุ้ง คะน้า ผักกาด พริก เป็นต้น5. การปรับปรุงภูมิทัศน์ ปรับแต่งภูมิทัศน์ด้านหน้าแปลงโครงการ โดยการปลูกไม้ดอกไม้ประดับเปลี่ยนป้ายชื่อพันธุ์ไม้ใหม่ เนื่องจากของเดิมชำรุดและให้จัดนิทรรศการผลการดำเนินงาน เพื่อให้ผู้ที่เข้าเยี่ยมชมสวนโครงการได้ข้อมูลของโครงการ ฯ ต่อไป ปีงบประมาณ 2552 กรมวิชาการเกษตร โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี สนับสนุนงบประมาณจำนวน 16,000 บาท ดำเนินการอบรมพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรให้แก่เกษตรกรมูลนิธิชัยพัฒนา จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 35 คน
ภาพถ่ายจากโครงการพระราชดำริ
ภาพกิจกรรมโครงการฝึกอบรมเกษตรกรมูลนิธิชัยพัฒนา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2552 และวันที่ 19 มิถุนายน 2552ณ อัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น